แหล่งความรู้

สวัสดิการและสิทธิพื้นฐานของผู้พิการ ที่จะได้รับมีอะไรบ้าง

สิทธิผู้พิการ
คนพิการนั้นได้รับสิทธิ์พื้นฐานรับเบี้ยยังชีพเดือนละ 800 บาท ถ้าเป็นผู้สูงอายุควบด้วยได้รับเบี้ยผู้สูงอายุระหว่าง 600-800 บาทต่อเดือน เพราะจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนนั้นเป็นผู้สูงอายุถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เฉพาะในส่วนนี้ภาครัฐใช้งบประมาณเฉลี่ยกว่า 28,000 ล้านบาทต่อปี
สำหรับสิทธิคนพิการจะได้รับจากนโยบายของรัฐ อันเนื่องจาก พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นั้นมีอีกมากมาย ผู้เขียนจะทยอยแนะนำ สำหรับบทความนี้ขอแนะนำ กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) สังกัดกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีรายได้จากการประมูลเลขทะเบียนรถสวย และนำมาเป็นค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการอันเนื่องมาจากการประสบภัยที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนน
โดยคนพิการที่มีหลักฐานแสดงได้ว่าเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุบนถนน ซึ่งมีถึง 5,000 คนต่อปี คนพิการรายใดที่รถคว่ำ ถูกรถชน รถชนกัน บนถนนทุกเส้นทาง สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนกลางยื่นตรงได้ที่สำนักงานกองทุนฯ กรมการขนส่งทางบก ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2561 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 1584 หรือ 0 2271 8888 ต่อ 2511-2515 สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบกจะอนุมัติเรื่องให้กับคนพิการที่ยังไม่เคยยื่นคำขอก่อน หรือหากเคยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นต้องเกิน 3 ปี หรือถ้าเคยได้รับความช่วยเหลือจาก กปถ. มาก่อนต้องเกิน 5 ปี

78400064 – hand holding 100 thai baht banknote, salary or saving money

คนพิการทุพพลภาพจากกลุ่มที่ทำงานในระบบ มีการใช้สิทธิ์ประกันสังคม นอกจากเรื่องการขึ้นทะเบียนขอรับเงินเดือน 50 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท ยังมีค่าเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท โดยสำรองจ่ายไปก่อน แล้วนำมาเบิกจ่ายย้อนหลัง แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ด้วย
สำหรับรถเข็นไฟฟ้า มีมูลค่าสูงถึง 150,000 บาท มีคนพิการทุพพลภาพกว่า 50,000 รายที่มีสิทธิ์ได้รับ แต่มีคนพิการรู้สิทธิ์ข้อนี้น้อยมาก มูลค่ารวมของรถเข็นไฟฟ้าเพียงรายการเดียว มากถึง 7,500 ล้านบาท แต่สถานการณ์จริงคือ เจ้าหน้าที่ประกันสังคมแต่ละจังหวัดไม่ค่อยทราบถึงสิทธิ์นี้ เพราะไม่ค่อยมีคนพิการไปยื่นคำขอ ไม่มีแบบฟอร์ม ต้องทำหนังสือยื่นเรื่องเอง และต้องพิสูจน์ว่า รถเข็นไฟฟ้าเหมาะสมกับความพิการทุพพลภาพ มีใบรับรองแพทย์

ใส่ความเห็น