แหล่งความรู้

การป้องกันการสำลักอาหารในผู้สูงอายุ

การป้องกันการสำลักอาหารในผู้สูงอายุ

การสำลักอาหารในผู้สูงอายุ
อย่ามองว่า แค่ “สำลัก” หรือเป็นเพียงเรื่องเล็กที่มองข้ามได้ เพราะแม้สำลักเพียงเล็กน้อย ด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มไม่แข็งแรง แค่สำลักก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ เช่น หากสำลักอาหารเข้าไปในปอดอาจส่งผลทำให้ปอดติดเชื้อ หรือผู้สูงอายุบางรายสำลักมากๆ จนเกิดความกลัวการกลืนอาหาร ไม่ยอมรับประทานข้าว นำไปสู่ปัญหาภาวะขาดสารอาหาร ให้หมั่นสังเกตการสำลักในผู้สูงอายุ

ข้อปฏิบัติขณะรับประทานอาหาร
1.จัดท่าทางในการรับประทานอาหาร โดยนั่งตัวตรง หลีกเลี่ยงท่านอน ในกรณีที่คนไข้ติดเตียง ให้ยกศีรษะคนไข้ขึ้นอย่างน้อย 45 องศา เพื่อป้องกันการสำลักเข้าปอด
2.ตั้งใจกลืน ไม่ดูทีวีหรือพูดคุยกันระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ควรหัวเราะขณะรับประทานอาหาร
3.ควรเคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ เพื่อให้ละเอียดที่สุดก่อนกลืนอาหาร
4.หลีกเลี่ยงอาหารเหนียวเคี้ยวยาก อาจทำให้ติดคอ ถ้าชิ้นใหญ่ผู้ดูแลควรมีการใช้มีดหั่นซอยก่อน
5.การปรุงอาหารให้มีลักษณะอ่อนนิ่ม หรือหั่นเนื้อสัตว์ให้เล็กที่สุด หรือหากเป็นผักก็หั่นให้เล็กลง และต้มให้นิ่ม เช่นกัน
6.ควรทำความสะอาดช่องปากก่อน และหลังอาหารทุกมื้อ การทำความสะอาดฟัน ฟันปลอม หรือกวาดลิ้น เพื่อช่วยลดการสะสมเชื้อโรคในช่องปาก และกำจัดครบเศษอาหารที่ค้างในช่องปาก
7.ไม่ควรนอนทันทีหลังอาหารทุกมื้อ หรือเดินอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง

เมื่อพบมีอาการสำลัก ควรปฏิบัติดังนี้
1.หยุดรับประทานอาหารทันที
2.จัดท่านั่งให้ก้มไปข้างหน้าเล็กน้อย หรือนอนตะแคงกึ่งคว่ำ
3.นำอาหาร หรือฟันปลอม ที่อยู่ในปากออกให้หมด
4.ไม่ควรทำการล้วงคอเด็ดขาด
5.ในกรณีที่มีอาการ เหนื่อยหอบ หายใจหิวอากาศ หน้าซีด ปากเขียวคล้ำ ต้องรีบพบแพทย์ทันที

บทความจาก https://healthathome.in.th/

ใส่ความเห็น