แหล่งความรู้

การเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ

[vc_row][vc_column][vc_column_text text_larger=”no”]

การเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
ยุคสมัยปัจจุบัน เรากำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในไม่ช้านี้ ปัจจัยทางด้านที่อยู่อาศัยจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ ควรจะมีการเริ่มการเตรียมพร้อมเพื่อผู้สูงอายุในบ้านของเรา
เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายๆ ด้าน การปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ทั้งนี้ การออกแบบที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญตั้งแต่โครงสร้าง การตกแต่งบ้าน การจัดวาง หรือการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับความเสื่อมถอยของร่างกายในด้านการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวร่างกาย และความไม่สมดุลของฮอร์โมนและอารมณ์ อย่างไรก็ดีหากมีที่พักอาศัยเดิมอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องปรับปรุงบ้านทั้งหลัง เพียงแต่ทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความปลอดภัย ใช้งานได้ง่าย และมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

 

พื้นบ้าน
ควรเรียบเสมอกัน ไม่ควรยกพื้นต่างระดับหรือมีธรณีประตู
แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น
มีทางลาดให้รถเข็นขึ้นลงได้อย่างสะดวก (ตามอัตราส่วน 1:12)
ทางเดินต้องมีราวจับช่วยพยุงตัว

ห้องนอน
ควรอยู่ชั้นล่างเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงโดยไม่ต้องขึ้นลงบันได
ควรอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นและเข้าถึงห้องน้ำได้สะดวก
หลีกเลี่ยงทิศตะวันตก เนื่องจากแดดที่ส่องตอนบ่ายจะทำให้ห้องร้อนอบอ้าว

ห้องน้ำ
ควรมีการแยกระหว่างส่วนที่เปียกและแห้ง แต่ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ
พื้นห้องน้ำควรมีผิวสัมผัสที่หยาบ
ควรมีราวจับเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการลื่น
เลือกใช้สุขภัณฑ์ที่มีระดับความสูงเหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ควรมีที่นั่งบริเวณที่อาบน้ำ เพื่อช่วยให้ความสะดวกกับผู้สูงอายุในการทรงตัว
ควรมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 1.5 ตารางเมตร เพื่อให้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้
เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่น ใช้ก๊อกน้ำชนิดก้านโยก ใช้ฝักบัวชนิดแรงดันต่ำ

ห้องนั่งเล่น
ควรมีช่องรับแสงทางทิศตะวันออกเพื่อรับแสงยามเช้า ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ควรมีสีที่ตัดกับสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่ควรต่ำและนุ่มเกินไป เนื่องจากทำให้ต้องใช้แรงในการลุกนั่งมาก
ควรวางเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นระเบียบ ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยื่นออกมาให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้พื้นที่
สวิตช์ไฟควรอยู่ในระดับที่ผู้นั่งรถเข็นสามารถใช้งานได้
ประตูควรมีความกว้างเป็นพิเศษ โดยเป็นบานเลื่อนหรือเปิดปิดได้ง่าย
ช่องแสงหรือบานประตูควรอยู่สูงจากพื้นไม่มาก เพื่อให้แสงเข้าได้ดีและสามารถมองเห็นทิวทัศน์นอกบ้านได้

เรียนรู้เรื่องการปรับบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ
บ้านปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ตอนที่ 1
บ้านปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ตอนที่ 2

 

 

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

ใส่ความเห็น