แหล่งความรู้

5 ข้อควรระมัดระวัง สำหรับผู้สูงอายุต่อโลกโซเชียลออนไลน์ 4.0 เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้!

เป็นยุคสมัยที่การเชื่อมต่อสามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัยแล้ว สำหรับวันเวลาที่ล่วงเลยผ่านมาถึงปีพุทธศักราช 2562 หากย้อนกลับไปสี่ถึงห้าปีที่แล้วผู้สูงอายุบางท่าน ก็ยังไม่รู้จักกันอินเทอร์เน็ตกับสมาร์ทโฟน ซึ่งมีแต่ภาพจำโทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกด ทว่าเมื่อวันเวลาเลยผ่าน ทั้งรัฐบาลกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ส่งผลให้ต้องปรับตัวโดยสิ้นเชิง จึงไม่แปลกที่ส่วนใหญ่เราจะเห็นคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงคุณย่าคุณปู่ต่างก้มหน้ากดลงบนหน้าจอ และเช้าๆ เรามักเห็นรูปภาพสวัสดีวันจันทร์.. ดังนั้นยุคที่ทันสมัยเช่นนี้จะมีข้อควรระมัดระวังใดบ้างสำหรับผู้สูงอายุโซเชียล 4.0!

1. ข่าวสาร (แชร์…หรือไม่แชร์) ทุกวันนี้ข่าวสารมีอัปเดตตลอดเวลา มีทั้งจริงและไม่จริงที่สำคัญในปัจจุบันมีกฏหมายการแชร์ข่าวสารปลอมก็อาจทำให้ผู้สูงอายุทำผิดกฏหมายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงต้องมั่นอธิบายถึงข้อสังเกตและพิจารณาอย่างไรว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ควรแชร์ เนื่องจากวัยเก๋า 4.0 มักชอบแชร์ข้อมูลต่างๆ บนโซเชียล 

2. ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ เป็นประเด็นที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะในปัจจุบันเราสามารถใช้จ่ายเงินได้ผ่านปลายนิ้วเท่านั้น เรียกได้ว่าพร้อมโอนก็ไม่ผิด ดังนั้นลูกหลานจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็เนื่องจากความเข้าถึงบุคคลอื่นง่ายดาย อาจส่งผลให้กลายเป็นเหยื่อโดยไม่คาดคิดจากคำหว่านล้อมต่างๆ เหมือนข่าวสารที่เห็นในทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการบริจาค, การซื้อขายสิ่งของออนไลน์ เป็นต้น จึงต้องตั้งค่าการโอนและการเข้าถึงให้เหมาะสม

3. การนำพาสู่การรู้จักคนแปลกหน้า อย่างที่เราทราบกันว่าในปัจจุบันมีสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คหลายประเภทให้ดาวน์โหลดและใช้งานกัน ซึ่งการ ADD Friend หรือเพิ่มเพื่อนก็สามารถทำได้โดยง่าย จึงไม่แปลกที่การรู้จักกันเดี่ยวนี้นั้นแสนง่ายดาย โดยนำพาประโยคเด็ดมาเพียบ อาทิ พร้อมโอน, รักแรกพบแค่คุยกันไม่กี่คำ, ก็คุยกันมาตั้งนานนึกว่าไว้ใจได้ เป็นต้น ดังนั้นลูกหลานจึงต้องอธิบายถึงข้อควรระวังอย่างยิ่ง เพราะทุกวันนี้คนเราหาผลประโยชน์จากกลยุทธ์ความหวังดี 

4. คอนเทนต์ที่รุนแรง ทุกวันนี้สื่อวิดีโอมีความสำคัญมากในการเข้าถึงผู้คนเพราะสามารถดึงดูดกับสร้างความตื่นเต้นได้ด้วยตัวของมันเอง ต่างจากข้อความยาว แน่นอนว่ามีทั้งคอนเทนต์ที่มีประโยชน์กับคอนเทนต์ที่รุนแรงส่งผลให้เกิดโรคตามมา, ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน, ภาพจำจากสิ่งยัวยุเหล่านั้นก็ส่งผลต่ออารมณ์ได้ 

5. ทำลายสุขภาพ คนหนุ่มสาวยังเกิดอาการเมื่อยล้าดวงตา หรือปวดเมื่อยคอจากการก้มหน้าเล่น แล้วผู้สูงอายุจะไม่เป็นได้อย่างไร ดังนั้นบุตรหลานจึงควรสอดส่องดูแลท่านไม่ให้ใช้เวลากับการใช้สื้อโซเชียลมากเกินไป อีกทั้งแสงสีฟ้าจากหน้าจออาจส่งผลร้ายต่อดวงตาก่อให้เกิดต้อกระจกได้

แล้วกิจกรรมใดบ้างที่เป็นเรื่อง Hot Hit ของผู้สูงอายุ

  • การโทรหรือวิดีโอคอล ด้วยวิถีชีวิตประจำวันของยุคปัจจุบันนั้นอาจไม่ได้อยู่ใกล้กัน จึงเกิดความคิดถึง ซึ่งการได้เห็นหน้าเห็นตาและเสียงพร้อมกันย่อมคลายความคิดถึงได้
  • การส่งข้อความหรือภาพอวยพร เช่น สวัสดีวันจันทร์ขอให้เป็นเช้าที่สดใส หรือคนทางนั้นเป็นยังไงบ้าง คนทางนี้คิดถึงมากนะ
  • การแชร์คอนเทนต์ อย่างที่เกริ่นข้างต้นข่าวสารทุกวันนี้อัปเดตแบบเรียลไทม์ อ่านดูได้เลย ไม่ต้องรอข่าวในทีวี ทว่าบางข่าวก็ไม่ใช่เรื่องจริง ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการแชร์

นอกจากปัญหาข้างต้นทั้งหมดแล้ว อีกหนึ่งข้อที่ควรพิจารณาคือเรื่องของความรู้สึก เพราะบางท่านอาจเกิดความรู้สึกน้อยใจว่าทำไมถึงไม่อ่านหรือไม่ตอบข้อความใดๆ เลย ดังนั้นทางที่ดีเราจึงควรจัดให้พวกท่าน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือบุคคลใกล้ชิดอยู่ในกลุ่มที่ควรอ่านและควรตอบ เพื่อไม่เกิดความรู้สึกเดี่ยวดาย และบุตรหลานก็อย่าลืมให้วัยเก๋า 4.0 เล่นโซเชียลแต่เหมาะสม และสอนท่านเสมอ เนื่องจากเราอยู่ในยุคที่ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ใส่ความเห็น